๒๑ เมษายน ๒๓๒๕ การปรากฏหมุดหมายแรกของกรุงรัตนโกสินทร์

: ฅน บางกอก

21/04/2566

……….การปรากฏเสาหลักเมืองอันเป็นหมุดหมายแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ภายหลังจากการปราบดาภิเษกเพียง ๑๕ วัน มีนัยลึกซึ้งให้คนรุ่นหลังได้ศึกษามากมาย หนึ่งในนัยความหมายสำคัญคือ การสร้างแนวแกนเชื่อมความสัมพันธ์จากพื้นที่ตะวันตกของกรุงธนบุรี มาสู่พื้นที่ศูนย์กลางเมืองใหม่ทางฝั่งตะวันออก โดยมีที่ตั้งของหลักเมืองเป็นแกนกลางองค์ประกอบสำคัญต่างๆของเมือง (สวรรค์ ตั้งตรงสิทธิกุล, ๒๕๕๘: ๑๐๒-๑๑๙)

……….รูปแบบของดอกบัวชูช่อเหนือพื้นดินยังมีนัยแสดงถึง “แกนกลางของโลกใหม่” นอกจากนี้ยังแสดงนัยถึงรัชกาลที่ ๑ ทรงเป็นพุทธะของโลกในฐานะ “โพธิสัตว์” ซึ่งเป็นแนวคิดรัฐในอุดมคติที่ถูกนำมาบูรณาการด้านการปกครองในช่วงเวลานั้น

……….นอกจากนี้รูปแบบดอกบัวของเสาหลักเมือง (รัชกาลที่ ๑) ยังมีความสอดคล้องกับภาพเขียนในสมุดภาพไตรภูมิ ฉบับกรุงศรีอยุธยา-ฉบับกรุงธนบุรี เล่ม ๒ (เลขที่ ๑๐ หน้า ๘๐) โดยมีองค์ประกอบต่างๆของดอกบัวที่ประดิษฐานอยู่ในบุษบกอันมีความหมายถึงองค์พระพุทธเจ้า ซึ่งมีความนิยมเขียนมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายลงมา

 

รายการอ้างอิง

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (๒๕๔๒).สมุดภาพไตรภูมิ ฉบับกรุงศรีอยุธยา – ฉบับธนบุรี เล่ม ๒. จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ. (ม.ป.ท.)

สวรรค์ ตั้งตรงสิทธิกุล. (เมษายน ๒๕๕๘). “การสร้าง หลักชัย แกนเมือง เมื่อแรกสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์อินท์อโยธยา” ศิลปวัฒนธรรม, กรุงเทพฯ: มติชน, ๓๖. ๑๐๒ – ๑๑๙.

สวรรค์ ตั้งตรงสิทธิกุล. (มิถุนายน ๒๕๖๕). “หลักเมืองกรุงรัตนโกสินทร์: สัญญะเมื่อแรกตั้งราชธานีใหม่ผ่านแนวคิดศิลปะ-สถาปัตยกรรม” รายงานสืบเนื่อง การประชุมวิชาการสถาปัตย์กระบวนทัศน์ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕. หน้า ๑ – ๑๖. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อ้างอิง

https://www.blockdit.com/conbancok

การเกิดหมุดหมายแรกของราชธานีใหม่นาม กรุงรัตนโกสินทร์ โดยการเชื่อมแกนจากพระบรมธาตุวัดบางหว้าใหญ่มายังที่ตั้งของหลักเมือง

ภาพจาก สวรรค์ ตั้งตรงสิทธิกุล: รายงานสืบเนื่อง การประชุมวิชาการสถาปัตย์กระบวนทัศน์ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕. หน้า ๑๒

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *