“สืบ” เพื่อ สาน “เจตนา”

1 กันยายน 2565

: ครูตั้ง

 

ภาพจำ “เสือดำ” ถูกเอามาทำเป็นอาหารชั้นเลิศตามความเชื่อของคนบางคน โดยต้องไปเอาอีกหนึ่งชีวิตมาแลกกับความเชื่อว่าเป็นยาชูกำลัง ฯลฯ  และน่าจะเป็นภาพที่ใครต่อใครคงจำได้ดี  เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้เกิดกระแสต่อต้านมากมายหลายรูปแบบ  หนึ่งในนั้นคือ การใช้งานศิลปะเพื่อสะท้อนความใจร้ายของคน(บางคน)ที่มีต่อสัตว์ทั้งที่เขาก็อยู่ในพื้นที่ของเขาดีๆ  หนึ่งการสะท้อนภาพในสังคมคือมีการสร้างงานศิลปะแขนงต่างๆ รวมถึงภาพเขียนที่เกี่ยวกับเสือดำที่แสดงออกถึงความเศร้า เสียใจ ฯลฯ

ก่อนเหตุการณ์เสือดำ “สืบ” ได้แสดงออกถึงความห่วงใยเกี่ยวกับสัตว์ป่าหลายครั้ง  ซึ่งหนึ่งในหลายๆครั้ง พี่สืบเคยพูดไว้ว่า

 

“……ผมขอพูดในนามของสัตว์ป่าทุกตัว…เพราะพวกเขาพูดเพื่อตัวเองไม่ได้……” 

 

งานศิลปะภาพเขียน จึงเป็นหนึ่งการแสดงออกถึงการ “สืบ เพื่อสานเจตนา” และรำลึกถึงการจากไปของพี่สืบที่ทำให้สังคมไทยตื่นตัวและให้ความสำคัญต่อการปกป้องทะเล ป่าเขา รวมถึงสัตว์ป่า ฯลฯ  ซึ่งพบได้จากผู้คนในสังคมออกมาปกป้องทรัพยากรธรรมชาติที่ร่อยหรอน้อยลงไปทุกทีในช่วงเวลานั้น  หากจะมองเหตุการณ์เสือดำ ก็สามารถรู้ได้ถึงกระแสการต่อต้านสิ่งที่ไม่ชอบด้วยกฏหมายที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้ทุกสรรพสิ่งได้อยู่ร่วมกันทั้ง “คนและป่า” ได้อย่าสมดุล

นอกจากนี้ ยังมีศิลปินสายดนตรีหลายกลุ่มได้แต่งเพลงถึง “พี่สืบ” เพื่อเป็นการสืบสานเจตนาเช่นเดียวกัน  การชวนคุยในครั้งนี้จะขอยกตัวอย่างบทเพลงของ “คีตาญชลี” ซึ่งมีเนื้อหาที่กินลึกและสื่อถึงความตั้งใจจริงของพี่สืบที่ใช้ชีวิตตัวเองเดิมพันกับความหวังในการปกป้องผืนป่า สัตว์ป่า และทรัพยากรธรรมชาติอย่างที่สุด

 

ภาพ  “เสือดำและความหวัง”

ขนาดภาพ  A5  ระยะเวลาวาด 20 นาที

เทคนิค สีอะคริลิคบนผ้า ปรับแต่งภาพจากไฟลดิจิตอล

 

ขอบคุณ

  1. “พี่อ๊อดและพี่ริน” แห่งวงคีตาญชลีที่บรรจงสรรค์สร้างบทเพลงนี้
  2. ช่องยูทูปที่นำมาลงครั้งนี้

https://youtu.be/AXPQFbxn1dw